มีกิจกรรมดีๆ สำหรับเสาร์-อาทิตย์นี้ จากคุณ Aoyama พันทิปเฉลิมไทยค่ะ
(ผู้บริจาคเลือดต้องมีน้ำหนัก 45 กก.ขึ้นไป ช่วงนี้กำลังขาดแคลนเลือดค่ะ)
http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A9280858/A9280858.html[นอกเรื่อง] มาชวนเพื่อน ๆ ไปบริจาคเลือดที่ตึก SCB Park Plaza รัชโยธิน ค่ะ ขออนุญาตตั้งกระทู้นอกเรื่องนะคะ พอดีได้คุยกับคุณหมอที่รามาฯ ตอนนี้เลือดขาดแคลนมากเลยค่ะ เพราะคนไปบริจาคเลือดที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติที่ถนนอังรีดูนังต์ไม่ได้ เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ควบคุม หมอและพยาบาลต้องช่วยกันระดมบริจาคเลือดช่วยคนไข้ เลยจะมาชวนเพื่อน ๆ ไปบริจาคเลือดในช่วงวันหยุดเสาร์อาทิตย์นี้ รายละเอียดตามประกาศด้านล่างนี้เลยค่ะ
สภากาชาดไทย แจ้งงดรับบริจาคโลหิตที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ถ.อังรีดูนังต์ 21-23 พ.ค.นี้ และออกหน่วยรับบริจาคโลหิต แทน
สภากาชาดไทย แจ้งงดรับบริจาคโลหิตที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ถ.อังรีดูนังต์ วันที่ 21-23 พฤษภาคม 2553 และปรับแผนออกหน่วยเคลื่อนที่ไปรับบริจาคโลหิตแทน
แพทย์หญิงสร้อยสอางค์ พิกุลสด ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สกากาชาดไทย เปิดเผยว่า เนื่องจากขณะนี้ บริเวณถนนพระราม 4 และถนนอังรีดูนังต์ ยังคงอยู่ในพื้นที่ควบคุม และยังไม่ปลอดภัย ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ จึงขอแจ้ง งดทำการรับบริจาคโลหิต ที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ (ถนนอังรีดูนังต์) เป็นการคำหยาบ*คราว ระหว่างวันที่ 21-23 พฤษภาคม 2553 โดยได้มีการปรับแผนการรับบริจาคโลหิต เป็นการออกหน่วยรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่ไปยังจุดที่การเดินทางมีความปลอดภัยและไปได้ง่ายแทน เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประสงค์จะบริจาคโลหิต
วันที่เสาร์ที่ 22 และวันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม 2553ตั้งจุดรับบริจาคโลหิตที่ หอประชุมมหิศร ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ (รัชโยธิน) ตั้งแต่เวลา 09.00-15.00 น.
จึงขออภัยผู้บริจาคโลหิตทุกท่านมา ณ ที่นี้ ผู้บริจาคสามารถติดตามการออกหน่วยรับบริจาคโลหิตในแต่ละวันได้ที่ เว็บไซต์
www.redcross.or.th สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2256 4300 และโทร. 0 2263 9600-99 ต่อ 1101
ที่มา:
http://www.redcross.or.th/news/information/607ใครบ้านอยู่ใกล้แถว ๆ รัชโยธิน ชวนเพื่อนไปบริจาคกันเยอะ ๆ นะคะ
จากคุณ : Aoyama
เขียนเมื่อ : 21 พ.ค. 53 23:08:53
--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 1 เพื่อน ๆ ที่ตั้งใจจะไปบริจาคเลือด อ่านบทความนี้อย่างละเอียดก่อนนะคะ เพราะก่อนบริจาคเลือด เจ้าหน้าที่จะให้กรอกแบบสอบถาม เพื่อคัดกรองว่าเราสามารถที่จะบริจาคเลือดให้คนอื่น ๆ ได้หรือไม่ ถ้าไม่ผ่าน เขาก็จะไม่ให้บริจาคค่ะ คราวที่แล้วเรากินยาแก้อักเสบก่อนหน้าที่จะบริจาคเลือด ก็เลยอดบริจาคไป
ถ้าอ่านแล้วคุณสมบัติผ่านทุกข้อ ก็บริจาคเลยค่ะ
20 คำถามก่อนบริจาคเลือด แม้ว่าการบริจาคเลือดจะทำให้ผู้บริจาครู้สึกติ อิ่มเอมใจที่ได้ทำกุศล เพราะได้แบ่งปันและช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน แต่ก็ใช่ว่าทุกๆ คนสามารถไปบริจาคเลือดได้ เพราะว่าการบริจาคเลือดนั้นคุณต้องเสียเลือดในร่างกายจำนวนไม่น้อย ซึ่งอาจส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพของคุณเองหลังบริจาคได้เหมือนกัน หรือในทางตรงกันข้ามหากว่าเลือดของคุณไม่สมบูรณ์และอาจมีเชื้อโรคก็อาจทำให้ผู้ที่ได้รับเลือดของคุณติดเชื้อที่อยู่ในเลือดของคุณตามไปด้วย แต่เมื่อมีความตั้งใจจะบริจาคแล้ว มีคำถาม 20 ข้อ ที่คุณต้องตอบตัวเองก่อนว่าสภาพร่างกายของคุณพร้อมแล้ว หรือเลือดของคุณพร้อมที่จะมอบเพื่อต่อชีวิตผู้อื่นได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ ดังนี้
1. สุขภาพสมบูรณ์พร้อมที่จะบริจาคเลือด อายุระหว่าง 17-60 ปี
2. นอนหลับเพียงพอไม่น้อยกว่า 6 คำหยาบ*โมง
3. มีอาการท้องเสีย ท้องร่วงภายใน 7 วันก่อนบริจาคเลือดหรือไม่ เพราะผู้บริจาคจะอ่อนแอรับประทานไป ส่วนผู้รับเลือดอาจได้รับเชื้อที่มากับเลือดได้ด้วย
4. ใน 3 เดือนที่ผ่านมา มีอาการน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งอาจมีสาเหตุจากโรคเบาหวาน ธัยรอยด์เป็นพิษ เครียด วิตกกังวล ก็ไม่ควรบริจาคเลือด
5. ภายใน 3 วันก่อนบริจาคเลือด คุณรับประทานยาแอสไพริน ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาแก้ปวดข้อหรือไม่ เพราะอาจทำให้มีเกล็ดเลือดผิดปกติได้ เลือดแข็งตัวช้า บวมช้ำง่าย เลือดที่บริจาคไปก็จะไม่มีคุณภาพ
6. รับประทานยากแก้อักเสบภายใน 14 วัน หรือยาอื่นๆ หรือไม่ ซึ่งต้องระบุ ให้ทราบ เพราะผู้บริจาคเลือดที่ได้รับยาแก้อักเสบแสดงว่ามีการติดเชื้ออยู่ ซึ่งอาจแพร่เชื้อเข้าสู่กระแสเลือดของผู้รับเลือดและอาจทำให้แพ้ยาได้
7. คุณเป็นโรคหอบหืด ลมชัก โรคผิวหนังเรื้อรัง ไอเรื้อรัง วัณโรค โรคภูมิแพ้ หรือไม่เพราะการบริจาคเลือดทำให้ต้องสูญเสียเลือดอย่างรวดเร็ว อาจจะกระตุ้นให้มีการกำเริบได้ จึงไม่ควรบริจาคเลือด โรคผิวหนังบางชนิด โรคติดต่ออย่างวัณโรค ไอเรื้อรังก็ไม่ควรบริจาคเลือด
8. เคยเป็นหรือมีคนในครอบครัวเป็นโรคตับอักเสบ ผู้ที่เคยเป็นโรคตับอักเสบแล้วไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นชนิดใด หรือไม่แน่ใจว่าหายขาดไม่มีเชื้อแล้วหรือไม่ ก็ควรเลื่อนการบริจาคเลือดออกไปจนกว่าจะทราบว่าเลือดของคุณปลอดเชื้อแล้ว
9. เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจ ไต ธัยรอยด์ มะเร็ง โรคโลหิตออกง่ายหยุดยาก เป็นต้น เพราะโรคเหล่านี้ล้วนมีผลต่อสุขภาพ ซึ่งต้องใช้ยารักษาควบคุมรักษาอย่างต่อเนื่อง และถ้าไม่ดูแลตนเองให้ดี อาจมีผลข้างเคียงของยาหรือมีโรคแทรกซ้อนที่ทำให้มีปัญหาสุขภาพได้ ควรพิจารณาดังนี้
- โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานอนุโลมให้บริจาคเลือดได้ ถ้าใช้ยาควบคุมได้ดีอย่างอย่างต่อเนื่องและต้องเป็นเพียงโรคใดโรคหนึ่งเท่านั้น
- โรคหัวใจทุกชนิดต้องงดบริจาคเลือด
- โรคไตชนิดเรื้อรังต้องงดบริจาคเลือด ถ้าเป็นชนิดอักเสบเฉียบพลัน และรักษาหายขาดภายใน 1 ปี สามารถบริจาคเลือดได้
- โรคธัยรอยด์ชนิดไม่เป็นพิษต้องรักษาหายแล้ว ถ้าเป็นชนิดเป็นพิษแม้รักษาหาย และหยุดยาแล้วก็ไม่ควรบริจาคเลือด
- โรคมะเร็งทุกชนิดไม่ควรบริจาคเลือด รักษาหายแล้วก็ตาม เพราะไม่สามารถทราบสาเหตุและตำแหน่งการกระจานหรือแฝงตัวของโรค
- โรคโลหิตออกง่าย-หยุดยาก เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ ควรงดบริจาคเลือด เพราะมีโอกาสเสียชีวิตเพราะเสียเลือดมากและเลือดหยุดยาก
- โรคเรื้อรังอื่นๆ ควรงดบริจาคเลือด
10. ถอนฟันภายใน 3 วันที่ผ่านมา เหงือกอาจจะอักเสบและมีบาดแผลในช่องปาก เป็นทางนำเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือดได้
11. คุณหรือคู่ของคุณมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศกับผู้อื่น ซึ่งมีโอกาสติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์สูง โรคบางชนิดมีระยะฟักตัวนาน อาจตรวจไม่พบเชื้อ เช่น HIV
12. ได้รับการผ่าตัดใหญ่ภายใน 6 เดือนหรือผ่าตัดเล็กภายใน 1 เดือน เนื่องจากการผ่าตัดใหญ่ทำให้มีการเสียเลือดมาก ร่างกายต้องใช้เวลาและสารอาหารในการซ่อมแซม ควรงดบริจาคคำหยาบ*คราว ส่วนผ่าตัดเล็กที่เสียเลือดไม่มาก ควรรอให้แผลหายก่อนค่อยบริจาคเลือด
13. เจาะหู สัก ลบรอยสัก ฝังเข็ม ในระยะ 1 ปี มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อโรคติดเชื้อที่มีการส่งต่อทางเลือดและน้ำเหลือง ซึ่งผู้ที่ได้รับเลือดอาจติดไปด้วย
14. เคยมีประวัติยาเสพติดหรือพ้นโทษในระยะ 3 ปี มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อโรคที่มีการส่งต่อทางเลือดและน้ำเหลือง
15. เคยเจ็บป่วยและได้รับเลือดจากผู้อื่นในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา ผู้ที่ได้รับเลือดคนอื่นจะมีการสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาในระบบโลหิต ถึงแม้จะมีการตรวจหากลุ่มเลือดหลักที่เข้ากันได้ แต่กลุ่มย่อยที่ไม่สามารถหาได้ตรงกันหมด ก็ยังคงเป็นปัญหาของผู้ได้รับเลือด
16. เคยฉีดวัคซีนในระยะ 14 วัน หรือฉีดเซรุ่มในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา การฉีดวัคซีนเป็นการกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันโรคในช่วง 14 วัน จึงควรให้ร่างกายได้ทำงานเต็มที่ การฉีดเซรุ่มต้องติดตามดูโรคนั้นๆ 1 ปี
17. เคยเข้าไปในพื้นที่ที่มีเชื้อมาเลเรียชุกชุมในระยะ 1 ปี หรือป่วยเป็นมาเลเรียในระยะ 3 ปี ถ้าไม่ได้รักษาให้หายขาด เชื้อสามารถแอบแฝงอยู่ในร่างกายโดยไม่ได้แสดงอาการรุนแรง
18. คุณผู้หญิงที่อยู่ในระหว่างรอบเดือน ไม่ควรให้ร่างกายมีการเสียเลือดซ้ำซ้อน ควรรอให้หมดประจำเดือนก่อน
19. คนที่คลอดบุตรหรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา จะมีการเสียเลือดมาก ร่างกายต้องการเวลาในการปรับตัวและสร้างเลือดขึ้นมาใหม่ ควรงดบริจาค 6 เดือน
20. อยู่ในระหว่างให้นมบุตรหรือตั้งครรภ์ น้ำนมผลิตขึ้นมาจากเลือด การเสียเลือดในการบริจาคจะทำให้น้ำนมลดน้อยลงหรือหมดไป
พิจารณาจบ 20 ข้อนี้แล้ว สำหรับคุณที่ผ่านเกณฑ์ว่ามีเลือดมาตรฐานก็ยินดีด้วย แต่สำหรับคุณบางคนที่ยังไม่แน่ใจก็อย่าเสียใจที่ไม่ได้ทำกุศลยิ่งใหญ่นี้เลย เพราะยังมีอีกหลายทางให้คุณได้เผื่อแผ่บุญกุศลค่ะ
ที่มาข้อมูล :นิตยสาร Health Today
จากเว็บไซต์
http://www.med.cmu.ac.th/hospital/opd/health/bloodbank.htm จากคุณ : Aoyama
เขียนเมื่อ : 21 พ.ค. 53 23:23:00
--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 6 ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบริจาคเลือดนะคะ บริจาคเลือดแต่ละครั้ง เลือดของเราไปช่วยผู้รับบริจาคได้ตั้ง 4 คนเลยนะเนี่ย ^^
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการบริจาคโลหิต รู้หรือไม่ว่า เลือดที่เราได้บริจาคไปแล้วนั้น เป็นเลือดเพียง 8-10 % ของปริมาณเลือดที่มีอยู่ในร่างกาย ถูกเก็บบรรจุไว้ในถูกพลาสติก (blood bag) ตั้งแต่ 350-450 มิลลิลิตร (ซี.ซี.) ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของผู้บริจาค โดยปกติร่างกายเลือดจะสร้างเลือดใหม่ขึ้นมาทดแทนอย่างรวดเร็ว ใกล้เคียงกับระดับปกติภายในเวลาประมาณ 1 เดือนเท่านั้น หากได้ปฏิบัติตามคำแนะนำหลังการบริจาคอย่างเคร่งครัด ซึ่งมีดังนี้
- ดื่มน้ำมากกว่าปกติ เป็นเวลา 1-2 วัน
- หลีกเลี่ยงการทำซาวน่า หรือออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมาก ๆ งดใช้กำลังแขนข้างที่เจาะ รวมถึงการหิ้วของหนัก ๆ เป็นเวลา 24 คำหยาบ*โมง ภายหลังการบริจาคโลหิต
- ถ้ามีอาการเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม ให้รีบนั่ง ก้มศีรษะต่ำกว่าเข่า หรือนอนราบยกเท้าสูง จนกระทั่งมีอาการปกติจึงลุกขึ้น และเดินทางกลับ ป้องกันอุบัติเหตุจากการล้ม
- ถ้ามีโลหิตซึมออกมาจากรอยผ้าปิดแผล อย่าตกใจ ให้ใช้นิ้วมืออีกด้านหนึ่งกดลงบนผ้าก๊อส กดให้แน่นและยกแขนสูงไว้ประมาณ 3-5 นาที หากยังไม่หยุดซึมให้กลับมายังสถานที่บริจาคโลหิตเพื่อพบแพทย์หรือพยาบาล
-ผู้บริจาคโลหิตที่ทำงานปีนป่ายที่สูง หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ควรหยุดพัก 1 วัน
-รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และยาธาตุเหล็กที่ได้รับวันละอย่างน้อย 1 เม็ด จนหมด เพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก
ดังนั้นจึงไม้ต้องกังวลว่าบริจาคเลือดแล้วร่างกายจะไม่สามารถสร้างเลือดขึ้นทดแทนได้อย่างเพียงพอ ที่สำคัญเราสามารถบริจาคเลือดซ้ำได้ทุก 3 เดือน
แต่อย่างไรก็ดี ควรจะรับประทานยาบำรุงเลือดที่ทางศูนย์รับบริจาคให้มาเวลาที่เราไปบริจาคเลือดด้วย เพราะธาตุเหล็กที่อยู่ในยาเม็ดบำรุงเลือด ร่างกายจะนำไปใช้สร้างเม็ดเลือดใหม่ที่สมบูรณ์ต่อไป
เลือดที่ได้ เอาไปทำอะไรบ้าง เลือดของเรา จะถูกคัดแยกออกเป็น 4 ส่วน เพื่อนำไปรักษาคนไข้ในลักษณะที่แตกต่างกัน คือ
1.ส่วนที่เป็นเม็ดเลือดแดง ซึ่งมีหน้าที่ในการนำออกซิเจนจากปอดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
2.ส่วนที่เป็นน้ำเลือด ซึ่งจะใช้ในกรณีที่ร่างกายมีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ หรือกรณีที่เป็นโรคตับ หรือมีภาวการณ์ขาดโปรตีน
3.ส่วนที่เป็นเกร็ดเลือด เป็นส่วนที่ใช้ในการห้ามเลือดไม่ให้ไหล เวลาเกิดบาดแผล
4.ส่วนที่เป็นตะกอนเลือด เรียกว่า ไครโอพรีซิบปิเตท (cryoprecipitate) ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด จากการขาดสารบางอย่าง
จะเห็นได้ว่า เลือดของคุณ 1 ถุง สามารถนำไปช่วยคนได้อย่างน้อย 4 คน เลยทีเดียว
ใครให้ได้บ้าง
ผู้ที่จะสามารถบริจาคโลหิตได้ตามมาตรฐานของสภากาชาดไทย ต้องมีน้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป อายุระหว่าง 17-60 ปี (ถ้าเป็นผู้บริจาคครั้งแรก ต้องไม่เกิน 55 ปี ) ไม่มีโรคประจำตัว เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง และผู้ที่ได้รับการบริจาคโลหิตของคุณ ดูรายละเอียดของผู้ที่ต้องการบริจาคโลหิตได้ที่นี่เลย ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
และสำหรับผู้ที่ต้องการบริจาค ก็มีขั้นตอนเตรียมก่อนบริจาค ดังนี้- นอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 6 คำหยาบ*โมงต่อเนื่อง ในเวลาปกติคืนก่อนวันบริจาค
- รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และยาธาตุเหล็กเพิ่ม
- รับประทานอาหารมื้อหลักก่อนมาบริจาคโลหิต หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เนื่องจากจะทำให้สีของพลาสมาผิดปกติเป็นสีขาวขุ่น ไม่สามารถนำไปใช้ได้
- ดื่มน้ำ 3-4 แก้ว และเครื่องดื่มเหลวเพิ่ม เช่น น้ำผลไม้ นม น้ำหวาน เพื่อเพิ่มปริมาณโลหิตในร่างกาย จะช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อน เช่น มึนงง อ่อนเพลีย หรือวิงเวียนศีรษะภายหลังบริจาคโลหิต หลีกเลี่ยงชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
- งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 24 คำหยาบ*โมงก่อนบริจาค
- งดสูบบุหรี่ ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 คำหยาบ*โมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี
การบริจาคเลือด เป็นการฝึกจิตให้รู้จักเสียสละ ให้รักผู้อื่น เช่นเดียวกับรักตัวเอง เพราะก่อนที่คุณจะบริจาค คุณต้องดูแลตัวเองเป็นอย่างดี และอย่าลืมว่าเมื่อดูแลตัวเองดีแล้ว แบ่งปันสิ่งดี ๆ ให้กับผู้อื่นด้วยหละ
ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
เรียบเรียงโดย Never-Age.com
ที่มา:
http://www.never-age.com/antiaging/antiaging.php?aid=222 จากคุณ : Aoyama
เขียนเมื่อ : 21 พ.ค. 53 23:57:25